วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บ้านทรงไทย

ความเป็นมา
      ประกายความคิด
ริเริ่มโครงการเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2545 เจ้าของโครงการมีความคิดที่จะสร้างบ้านทรงไทยสักหลัง เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโบราณของไทย จึงได้ทำการเสาะแสวงหาบ้านทรงไทยสมัยเก่า เพื่อรื้อถอนและนำมาปลูกสร้างใหม่ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ปรากฏว่าไม่ได้บ้านทรงไทยในฝัน เนื่องจากคุณภาพ ของวัสดุ (ไม้) ซึ่งเป็นไม้เก่าเมื่อรื้อถอนและนำมาปลูกสร้างใหม่ ก็จะได้ไม้ที่มีตำหนิ และความบางของไม้ กล่าวคือ ต้องนำไม้เก่ามาปรับปรุงแต่ง โดยการไส จึงทำให้ไม้บางลงไปอีก อีกทั้งต้องจ่ายค่าแรงถึง 3 ครั้ง คือทั้งจ้างรื้อถอน และนำมาปลูกสร้างใหม่ซึ่งทำให้ราคาของบ้านทรงไทยมีราคาสูงโดยไม่มีความจำเป็น
ฉะนั้น ความคิดที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะได้บ้านทรงไทยที่มีคุณภาพและราคาที่เอื้อมถึงได้สักหลังไว้เพื่อเชิดชูศิลปวัฒนธรรม ให้อยู่คู่ชาติไทยไปตลอดกาล จึงได้บังเกิดขึ้นดังนี้
  1. ปลูกสร้างโดยไม้ที่ไม่มีตำหนิมีความหนา และคุณภาพเยี่ยม
  2. เสียค่าแรงงาน จ่ายเพียงครั้งเดียว
  3. ราคามีเหตุมีผล
  4. บริการหลังการขายที่ดี
จุดเด่น
  1. ความคิดของบรรพบุรุษไทย หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน
  2. เหมาะสมกับภูมิประเทศบ้านเรา
  3. "มีอุดมการณ์" สร้างบ้านและปลูกจิตสำนึกด้วย "ใจเขาใจเรา"
  4. ควบคุมงบประมาณ เวลา วัสดุ ฝีมือ รูปแบบภายใน สัญญาระบุเงื่อนไขชัดเจน
      4.1 ราคา
        4.2 แบบบ้านมีพิมพ์เขียว
          4.3 เวลาเริ่มก่อสร้างถึงวันสิ้นสุดสัญญา
            4.4 วัสดุ
                4.4.1 ชนิดไม้ ไม้สัก , แดง , เต็ง , ประดู่ , ตะแบง
                  4.4.2 ขนาดไม้ ตั้ง 6" x 2" , คาน 8", 10" x 2"
                    4.4.3 จำนวนไม้ โครงสร้าง ไม้ตั้ง , ไม้คาน
                  4.5 การชำระเงินแบ่งเป็นงวดงาน
              1. ประสบการณ์
                  5.1 เป็นช่างเฉพาะทางโดยเป็นช่างไม้
                    5.2 ช่างทุกชุดมีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 15 ปี
                      5.3 ช่างเป็นคนล้านนาและปลูกฝังศิลปะวัฒนธรรมมาตั้งแต่เกิด
                  1. บริษัทเราไม่ใช้บริษัทผู้ค้าคนกลาง
                  2. บ้านของบริษัทไม่ใช่บ้านน็อคดาวน์ แต่เป็นการสร้างบ้านใหม่บนเนื้อที่ของลูกค้า
                      7.1 ลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา ตรวจสอบวัสดุได้
                        7.2 ถูกต้องตามหลักสถาปัตยกรรม และวิศวะกรรม
                          7.3 ตรวจสอบการก่อสร้างได้ตามสัญญา
                      1. ข้อแตกต่างระหว่างบ้านน็อคดาวน์กับบ้านสร้างใหม่
                      บ้านน็อคดาวน์
                      บ้านสร้างใหม่
                      1. ไม่สามารถตรวจสอบชนิดไม้ได้
                      2. เสียค่าใช้จ่ายหลายครั้งในการ สร้าง,รื้อ,ประกอบ
                      3. ไม่สามารถตรวจสอบ ดิ่ง, ฉากได้ จะทำให้มีปัญหาบริเวณจริงที่สูง - ต่ำไม่เท่ากัน บังคับประกอบสำเร็จรูป
                      4. เงื่อนไขการชำระเงินเสียเปรียบคนขาย
                      5. เสียเวลามากเพราะต้องสร้าง , รื้อ , ประกอบ ทำให้ไม้ชำรุด
                      1. ตรวจสอบชนิดไม้ได้
                      2. เสียค่าใช้จ่ายครั้งเดียวเมื่อสร้าง
                      3. ตรวจสอบ ดิ่ง,ฉาก ได้เพราะพื้นที่บริเวณก่อสร้างสูง-ต่ำไม่เท่ากัน
                      4. ชำระเงินตามงวดงาน
                      5. เสียเวลาน้อยเพราะสร้างครั้งเดียว ไม้ไม่ชำรุด









                      ลักษณะต่างๆของบ้านทรงไทย

























                      ข้อห้ามสำหรับการสร้างบ้านทรงไทย

                                  ข้อห้ามเฉพาะสำหรับการสร้างบ้านทรงไทยตามลัทธิไสยศาสตร์ ประเพณี และความเชื่ออันมีอิทธิพลต่อขวัญของบุคคล ซึ่งความเชื่อลัทธิดังกล่าว บางอย่างมีเหตุผลสมควร บางอย่างหาสาเหตุยังไม่พบ หรือไม่มีเหตุผลอธิบาย  



                      ข้อห้ามเฉพาะสำหรับการสร้างบ้านทรงไทย พอจะรวบรวมเป็นข้อห้ามเฉพาะการสร้างบ้านได้ดังนี้


                      บันไดห้ามใช้จำนวนขั้นคู่ (ต้องเป็นขั้นคี่นับเฉพาะขั้น ไม่นับพื้นหรือชานพัก
                      บันไดไม่ลงไปทางทิศตะวันตก

                      ไม่หันหัวนอนไปทางทิศตะวันตก

                      ไม่ทำน้ำพุน้ำตกไหลเข้าตัวเรือน (ตึก)

                      ไม่ปลูกต้นหางนกยูง ต้นลั่นทม ต้นโศก ตรุษจีนฯ

                      ไม่ทำทางเข้าลอดใต้ห้องน้ำส้วม

                      ไม่ทำอาคารรูปตัว "ที" มีปีกเท่ากันสองข้างเรียก "แร้งกระพือปีก" ถือเป็นอัปมงคล

                      ไม่ทำเรือนทะลุหน้าตลอดหลังถือว่าเป็น "เรือนอกแตก" เป็นอัปมงคล

                      ไม่ทำภูเขาจำลองไว้ในบ้าน


                      ห้ามใช้ไม้ตะเคียน ไม้มะค่าในการปลูกเรือน

                      ห้ามใช้เสาตกน้ำมัน

                      ห้ามทำทางเข้าออกคู่ไว้ตอนมุมของพื้นดินที่ทางสามแพร่งหรือสี่แยก

                      ห้ามทำภาพยักษ์ไว้ในบ้าน

                      ห้ามทำหนังใหญ่หรือหนังตะลุงไว้ในบ้าน

                      ห้ามใช้ช่อฟ้า ใบระกา - เครื่องวัด - เครื่องหลวง หรือมีเครื่องประดับชั้นสูงในบ้าน

                      ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ

                      ห้ามตั้งศาลพระภูมิใต้เงาเรือน

                      ไม่ปลูกต้นมะละกอใกล้ตัวเรือน

                      ห้ามทำบันไดเวียนซ้ายขาขึ้น

                      ไม่ปลูกบ้านใต้ต้นไม้ใหญ่

                      ห้ามมิให้มีสัตว์ตกตายในหลุมตอม่อ

                      ห้ามใช้เสาไม้มีตาในระยะ "เป็ดไซ้ ไก่ตอด สลัก รอด หมู่สี"

                      ห้ามวางรูปพื้นเรือนในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงรูโลง..พ

                      ห้ามทำเตียงนอนขาสิงห์ เครื่องใช้ขาสิงห์ (ซึ่งเทียมเจ้านาย)

                      ห้ามนำ..พออกประตูเรือน หรือลงบันไดบ้าน (ให้ออกทางด้านฝาหุ้มกลอง เพราะสะดวกในการเคลื่อน..พฝาหุ้มกลองถอดออกและประกอบใหม่ได้)

                      ห้ามนำของวัดเข้าบ้านหรือมาประกอบเป็นส่วนของบ้าน

                      ห้ามทำทางเข้าเวียนซ้ายของอาคาร ฯลฯ



                      ทำไมเรือนไทยจึงยกใต้ถุนสูง


                      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]
                      การยกพื้นเรือนให้สูงขึ้นนั้นมีเหตุผลหลายประการ คือ
                      ก. เพื่อให้มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือคนร้ายในเวลาค่ำคืน
                      ข. เพื่อป้องกันน้ำท่วมถึง ในทุกภาคของประเทศจะเกิดน้ำท่วมเป็นบางเดือนเกือบทุกปีภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะ เกิดน้ำท่วมเพราะมีพายุฝนตกหนัก ส่วนภาคกลางนั้นน้ำท่วมเพราะน้ำเหนือไหลบ่าลงมา รวมทั้งน้ำทะเลขึ้นหนุนประมาณเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธั นวาคมเกือบทุกปี ถ้าเกิดน้ำท่วมก็จะได้ย้ายสิ่งของและเครื่องใช้ต่าง ๆ จากใต้ถุนขึ้นไว้บนเรือน
                      ค. ใช้ใต้ถุนเป็นที่เก็บของและเครื่องใช้เกี่ยวกับการเกษตร
                      ง. ใช้ใต้ถุนเป็นที่ประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ ทำร่ม ทอผ้า ทอเสื่อ ปั่นฝ้าย ตำข้าว (ด้วยครกกระเดื่อง) และใช้เป็นที่พักผ่อน โดยตั้งแคร่นั่งเล่นในเวลากลางวัน ชาวบ้านบางแห่งแบ่งส่วนใต้ถุนไว้เลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย ฯลฯ การเ ลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุนจะทำให้สกปรก ส่งกลิ่นเหม็นและเกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก บางท้องที่แยกสัตว์ไว้ในคอกต่างหาก นี้ดีกว่าการเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุน นอกจากนี้ยังใช้ใต้ถุนเป็นที่จัดงานประเพณีต่าง ๆ 



                      ลักษณะเรือนไทยในแต่ละภาคคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร



                      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]
                      เรือนไทยภาคกลาง
                      เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยที่สร้างขึ้นภาคกลางของประเทศไทย มีลักษณะแบบแผนของแต่ละหลังที่แน่นอนและคล้ายคลึงกันเ ป็นส่วนใหญ่ มีอายุประมาณ 100-150 ปีมาแล้ว ลักษณะหลังคาทรงมนิลาสูง มีปั้นลม กันสาดและใต้ถุนสูง เนื่องจากเรือนไทยในภาคกลางมีลักษณะเฉพาะอย ่างนี้ คนทั่วไปจึงเรียกว่า เรือนไทยเดิมภาคกลาง
                      เรือนไทยภาคเหนือ
                      เรือนไทยภาคเหนือ เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงคล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่มีลักษณะอื่น ๆ แตกต่างกันมาก เพราะดินฟ้าอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ฤดูหนาว หนาวกว่าภาคกลางมาก ทำให้ลักษณะเฉพาะทางรูปทรงหลังคาและสัดส่วนของเรือนเตี้ยคลุ่มมากกว่า เจาะช่องหน้าต่างแคบๆ เล็กๆ กันลมหนาว การจัดกลุ่มอาคาร และการวางแปลนห้องต่าง ๆ มีความสมดุลแบบสองข้างไม่เหมือนกัน และเชื่อมต่อเรื อนเหล่านั้นด้วยชานอย่างหลวมๆ เรือนทุกรูปแบบมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีคุณค่าทางศิลปะด้านสถาปัตยกรรมอย่างดียิ่ง
                      เรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
                      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนกว้างใหญ่ ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ ถึง 17 จังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่นเดียวกับภาค อื่น ๆ อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนาข้าวเหนียว นอกจากนั้นประกอบอาชีพปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ปอ และเลี้ยงสัตว์ไว้ใ ช้แรงงานตลอดจนเลี้ยงไว้บริโภค อาชีพเหล่านี้ต้องพึ่งดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยจึงจะส่งผลดี แต่สภาพภูมิประเทศภาคนี้เป็นที่ราบแบบลูกคลื่น พื้นดินเป็นดินปนทรายน้ำซึมได้ง่าย จึงทำให้บริเวณแถบนี้แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและบริโภค ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับต ่ำกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ
                      สภาพของบ้านเรือนมีลักษณะเป็นไปตามผลผลักดันทางด้านภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจโดยตรง รวมทั้งคติความเชื่อต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดสืบต่อ กันมา





                      ไม่มีความคิดเห็น:

                      แสดงความคิดเห็น